Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

132 พิพาทขึ้นระหว่างไทยกับลาวในช่วงปลายของสงครามเย็น [ ดวงไซ 2553] กล่าวคือรัฐไทยและรัฐลาวอ้างอิงแผนที่ คนละชุดโดยฝ่ายลาวใช้แผนที่ L708 มาอ้างว่าหมู่บ้านร่มเกล้าที่อำ�เภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก อยู่ภายใต้ อธิปไตยของลาว ซึ่งฝ่ายไทยมองว่ามีความล้าสมัย และได้เสนอแผนที่ L7017 เพื่อโต้แย้งว่าแท้จริงแล้วหมู่บ้านร่ม เกล้าอยู่ในดินแดนไทย การตีความแผนที่ซึ่งยึดรัฐเป็นศูนย์กลางสองชุดได้นำ�ไปสู่การปะทะกันทางทหารซึ่งทำ�ให้มี ผู้เสียชีวิต 479 ราย [ ชินวัฒน์ 2544] งานเขียนในวงวิชาการยุคหลังสงครามเย็นที่ย้อนกลับไปพิเคราะห์ปัญหาพรมแดนไทย - ลาว อย่างในกรณี ของสามหมู่บ้านใน ค . ศ . 1984 และหมู่บ้านร่มเกล้าใน ค . ศ . 1987–1988 แสดงให้เห็นถึงแนวคิดหลักสอง ประการคือ ประการแรก วงวิชาการยังคงยึดพื้นที่รัฐแบบเวสต์ฟาเลีย ประการที่สองคือ ยังเชื่อกันว่าการยึดรัฐเป็น ศูนย์กลางยังคงทรงอิทธิพลในงานวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลัก เช่น งานเขียนวิจัยของทรงฤทธิ์ โพนเงิน (2540) [ ทรงฤทธิ์ 2541] ได้ย้อนวิเคราะห์ถึงปัญหาเศรษฐกิจในอดีต กล่าวคือทรงฤทธิ์กล่าวถึงเมื่อครั้ง ที่รัฐไทยประกาศปิดเส้นพรมแดนหลังจากเหตุการณ์สามหมู่บ้านในกลางทศวรรษที่ 1980 ส่งผลให้ผู้ที่สามารถ ข้ามพรมแดนได้มีเพียงสี่ประเภทคือ นักการทูต ผู้อพยพชาวลาว อดีตกองกำ�ลังลาวฝ่ายขวาที่ต่อต้านรัฐบาลลาว และ พ่อค้าสินค้าเถื่อน อย่างไรก็ตามหลังจาก ค . ศ . 1989 เป็นต้นมา การยึดว่ารัฐต้องเป็นศูนย์กลางก็มิได้เข้มข้นเหมือน ครั้งสงครามเย็น กล่าวคือ แนวคิดที่ว่าผู้คนและพื้นที่ต้องแยกจากกันอย่างเด็ดขาดมิได้มีความเข้มข้นเท่ากับที่เคย เป็น และบ่อยครั้งการอนุโลม เพื่อให้เกิดความสะดวกทางการค้าและความร่วมมือในลักษณะข้ามชาติของทั้งสอง รัฐ รวมไปจนถึงรัฐอื่นทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ปรากฎในงานเขียนเชิงวิชาการ เช่น งานของ เผยพัน และ มะยุลี เหง้าสีวัด [Ngaosyvathn M., Ngaosyvathn P. 1994] บรรษัทข้ามชาติต่างก็สนับสนุน การก่อสร้างถนนหนทางและสะพานเชื่อมโยงชายแดนไทยลาวภายใต้กลไกที่เรียกว่าอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง (Great Mekong Sub-region) สุรชัย (2546) จักรกริช [Sankhamanee 2006] ฮอลลี่ ไฮ [High 2009] สร้อย มาศ [Rungmanee 2014] และธนเชษฐ [Wisaijorn 2018] กล่าวคือมีการวิเคราะห์การตีความทางด้านเวลาที่ รัฐไม่ได้เป็นตัวผูกขาดในการควบคุมโครโนสและไคโรสก็เป็นสภาวะการตัดสินใจของตัวแสดงทางการเมืองที่เป็น ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองชายแดนทั้งสิ้น ทว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบที่ด่านวังเต่าใน ค . ศ . 2000 วาทกรรมว่าด้วยบูรณภาพของดินแดนซึ่งมี ลักษณะยึดรัฐเป็นศูนย์กลางระหว่างไทยกับลาวก็หวนกับมาปรากฏอีกครั้งหนึ่งและนำ�มาใช้บรรยายสถานการณ์ ในเมืองชายแดนคืออุบลราชธานีของไทย และจำ�ปาสักของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทั้งใน สื่อมวลชนและการโฆษณาของรัฐทั้งสอง เมื่อรัฐบาลลาวตำ�หนิรัฐบาลไทยว่าเหตุการณ์ดังกล่าวได้ขัดขวางความ สัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับลาว แม้ว่าจะไม่มีการกระทบกระทั่งกันทางทหารก็ตาม [Theeravit, Semyeam 2003] พยายามอธิบายเหตุการณ์วังเต่าจากมุมมองที่ “ ไร้รัฐ ” (stateless) และมองว่าพลเมืองไทยและลาวโดย เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและเครือญาติต่อกันมาตั้งแต่ก่อนยุคอาณานิคม [Ibid] แต่ก็ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องสุดวิสัยที่จะก้าวพ้นไปจากแนวคิดที่ว่าพื้นที่และผู้คนควรแยกออกจากกัน คำ�ถาม ในแบบสอบถามของการทำ�วิจัยแนวคิดที่พื้นที่และผู้คนของรัฐไทยและลาวยังปรากฏอยู่ชัดเจน เช่น คำ�ถามที่ ว่า “ ประชาชนลาวมองประชาชนไทยอย่างไร ” หรือในคำ�ตอบที่ผู้ตอบแบบสอบถามใช้วลีว่า “ ผู้คนจากฝั่งนี้ ” หรือ “ ฝั่งโน้น ” นอกจากนี้สภาวะที่การตีความด้านพื้นที่และเวลาก็ยังปรากฏในวิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์ระดับ มหาบัณฑิตของพลวิเชียร ภูกองไชย (2546) ที่วิเคราะห์เหตุการณ์วังเต่าเหตุการณ์เดียวกันนี้ ทว่าเขาได้เจาะลึก ลงในรายละเอียดว่าผู้ก่อการ ได้ใช้ปัจจัยใดในการตัดสินใจที่จะข้ามเขตแดนไทย - ลาว จากฝั่งไทยเพื่อโจมตีด้าน ศุลกากรวังเต่าในฝั่งลาว ก่อนจะหนีการไล่ล่าของกองทัพลาว กลับมายังเขตแดนฝั่งไทย ย่อมหมายความว่าหลัก เกณฑ์การจัดการเวลาที่เรียกว่าโครโนสซึ่งบังคับใช้โดยไทยและลาว ถูกท้าทายโดยตัวแสดงซึ่งเป็นกองกำ�ลัง ติดอาวุธในท้องที่ และการท้าทายดังกล่าวก็จัดได้ว่าเป็นไคโรส ซึ่งปรากฏอยู่ในงานเขียนทางด้านรัฐศาสตร์ใน ยุคหลังปี ค . ศ . 1989 นี้เช่นกัน นอกจากนี้ ไฮ [High 2009] ยังได้กล่าวถึงแรงงานชาวลาวที่พยายามจะข้าม เขตแดนบริเวณช่องเม็ก - วังเต่า ( อุบลราชธานี และจำ�ปาสัก ) เพื่อเข้าไปหางานทำ�ในรัฐไทย งานวิจัยด้านมานุษย

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=