Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

131 ลี้ภัยก็กลายเป็นประเด็นปัญหาสำ�คัญของทั้งรัฐไทยและรัฐลาว รัฐบาลลาวได้กล่าวหารัฐบาลไทยในขณะนั้นว่าร่วม มือกับจีนใช้ผู้ลี้ภัย เช่น ชาวม้งซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่เคยร่วมกับสหรัฐอเมริกาสู้รบต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์เข้าไป สอดแนมหาข่าวทางการทหารในพื้นที่อธิปไตยของลาว มุมมองที่แยกพื้นที่และผู้คนเช่นนี้เป็นกับดักเส้นเขตแดนที่ สะท้อนแต่เพียงเสียงของชนชั้นปกครองซึ่งดังกว่าเสียงของผู้คนที่อาศัยอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำ�โขง เมื่อผู้คนที่อาศัย อยู่ฝั่งหนึ่งได้อพยพภัยทางการเมืองมาอีกฝั่งหนึ่ง พวกเขาถูกมองว่าเป็น “ ผู้ลี้ภัย ” ซึ่งสื่อนัยยะของคนที่พลัดพราก จากบ้านเกิด และสิทธิที่พึงได้รับจากรัฐของพวกเขาย่อมน้อยกว่าพลเมืองของรัฐทั้งที่ผู้คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำ�โขงมี ความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ การค้าและวัฒนธรรมมาก่อนที่จะมีพรมแดนไทย - ลาวเสียอีก การตีความจุดสิ้นสุดการควบคุมเวลาและพื้นที่ของรัฐ โดยยึดรัฐเป็นศูนย์กลางก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อบกพร่อง หรือผิดพลาด ความคลาดเคลื่อนปรากฎอยูในการระบุระยะทางของชายแดนไทย-ลาว วิรัช (2531) ใช้แผนที่ สนับสนุนข้อสรุปกรณีพิพาทสามหมู่บ้านใน ค . ศ . 1987 ซึ่งเป็นการปะทะกันทางทหารของรัฐบาลไทยและลาว ว่าบ้านกลาง บ้านสว่าง บ้านใหม่ อยู่ภายใต้อำ�นาจอธิปไตยของรัฐไทย แต่เผยพัน [Ngaosyvathan 1985] กลับ ใช้แผนที่แบบเดียวกันแต่ตีความต่างกันมาโต้แย้งว่าทั้งสามหมู่บ้านอยู่ภายใต้อธิปไตยของลาวนับเนื่องมาตั้งแต่สมัย อาณานิคม นักวิชาการทั้งสองใช้ชุดภววิสัยที่แตกต่างกัน ฝ่ายลาวใช้แผนที่ที่เขียนขึ้นในยุครุ่งเรืองของฝรั่งเศสในอิน โดจีน แต่ฝั่งไทยใช้แผนที่ที่อ้างกันว่ามีความทันสมัยมากกว่าเนื่องจากใช้วิทยาการการถ่ายภาพทางอากาศมาโต้แย้ง ซึ่งหากต่างฝ่ายต่างยืนยันการตีความของตน คงไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ทั้งในงานวิชาการความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศและสำ�นักภูมิศาสตร์ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริการะหว่าง ค . ศ . 1975 และ 1989 ระบุว่า พรมแดนไทยลาวมีความยาว 1,750 กิโลเมตร [ โสมเพ็ญ 1982; วิรัช 1988; Office of Geography, Bureau of Intelligence and Research 1962] แต่เมื่อมีการสำ�รวจใหม่ในทศวรรษที่ 1990 ระยะทางกลับเพิ่มขึ้นมา เป็น 1810 กิโลเมตร ฉะนั้นการตีความเส้นเขตแดนที่เป็นหมายหมุดจุดสิ้นสุดของการควบคุมพื้นที่และเวลาของรัฐ โดยยึดรัฐเป็นศูนย์กลางควรได้รับการพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง 3.3. ค . ศ . 1989 ถึงปัจจุบัน เมื่อสงครามเย็นจะยุติลงในปลายทศวรรษที่ 1990 การอธิบายความสัมพันธ์ไทย - ลาวก็ไม่ได้ลดลักษณะการยึด รัฐเป็นศูนย์กลางลงไปเสียทีเดียว ความพยายามจัดการเวลายังคงเป็นโครโนสที่กำ�กับโดยรัฐบาลกลางจากเมืองหลวง ของรัฐ และก็ยังปรากฏอยู่ในงานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลัก อย่างไรก็ดี ได้มีมุมมองของตัวแสดง ที่ไม่ใช่รัฐ ปรากฏอยู่มากขึ้นในงานวิจัยทางรัฐศาสตร์ทางด้านการเมืองการปกครอง งานทางด้านมานุษยวิทยา และ ชายแดนศึกษา ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้นิยามตนเองว่าเป็นงานในสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ผู้เขียนยืนยันว่า หากนักวิชาการสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นำ�ผลการวิจัยของงานเหล่านี้มาร่วมพิจารณาก็จะเพิ่มมิติการ วิเคราะห์ในการอธิบายความสัมพันธ์ไทย-ลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุมมองของเมืองชายแดนคืออุบลราชธานี-จำ�ปา สัก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีจุดวิเคราะห์อยู่บริเวณชายแดนไทย-ลาว ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการบังคับใช้อำ�นาจอธิปไตย ของรัฐไทยและรัฐลาว ในยุคนี้มุมมองการตีความด้านเวลาในความสัมพันธ์ไทย-ลาว บริเวณอุบลราชธานีและจำ�ปาสัก เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นตลอดระยะทาง 1,810 กิโลเมตร แล้วจะพบว่ามีความเน้นรัฐเป็นศูนย์กลาง เช่น งานทางวิชาความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศเมื่อกล่าวถึงพื้นที่อุบลราชธานีและจำ�ปาสัก แต่บ่อยครั้งก็ผสมผสานกับมุมมองที่เน้นวิถีชีวิต ความสัมพันธ์ของผู้คนมากขึ้น ดังปรากฎในงานวิจัยด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา การตีความด้านเวลาที่เปิดพื้นที่ ให้กับผู้คนบริเวณเมืองชายแดนมากขึ้น จึงเป็นการตีความเวลาที่ตีความโดยผู้คนจากพื้นที่ที่สาม ในงานวิจัยของ เขียน ธีระวิทย์ และ อดิสรณ์ เสมแย้ม [Theeravit, Semyeam 2003] ยังมีการผลิตซ้ำ�การ ตีความพื้นที่ที่ยึดรัฐเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ มีแผนที่ที่รัฐบาลไทยใช้อธิบายกรณีพิพาทที่หมู่บ้านร่มเกล้าเมื่อ ค . ศ . 1988–1989 ถึงอย่างนั้นก็ดี การยึดคำ�อธิบายของรัฐเป็นศูนย์กลางของแผนที่ซึ่งรัฐบาลไทยนำ�มาสร้างความชอบ ธรรมในการประกาศสงครามกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ถูกตั้งคำ�ถามมากขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งบรรดาแผนที่ซึ่งจัดทำ�ขึ้นในยุคอาณานิคม ซึ่งวงวิชาการได้ข้อสรุปว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำ�ให้เกิดกรณี

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=