Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

130 ทฤษฏีโดมิโน (domino theory) เป็นวาทกรรมของสหรัฐอเมริกาที่ใช้ในการแทรกแซงการเมืองในภูมิภาค อินโดจีนยุคสงครามเย็น [O’Sullivan 1998] ทฤษฏีดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการมองรัฐว่าคล้ายกับภาชนะ จนนำ�ไปเปรียบกับโดมิโน และวิธีมองเช่นนี้มองว่า พื้นที่และเวลาถูกบรรจุอยู่ในรัฐที่เป็นรูปแบบเวสต์ฟาเลีย เช่น รัฐ ไทยและรัฐลาว แต่เมื่อสหรัฐอเมริกาพยายามป้องปรามอิทธิพลคอมมิวนิสต์ทฤษฏีโดมิโนมักจะปรากฎอยู่ถ้อยแถลง ของบรรดานักการเมือง และนักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยนำ�รัฐมาเปรียบเทียบกับวัตถุเช่นโดมิโน ดังที่ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ดไวต์ ไอเซนฮาเวอร์ [Eisenhower 1965] เคยกล่าวไว้ว่า “ หากลาวต้อง กลายเป็นคอมมิวนิสม์ ประเทศเพื่อนบ้านก็ต้องเป็นรายต่อไป เหมือนโดมิโนล้ม ” (1965) เมื่อมีฐานคติว่ารัฐเป็น วัตถุเช่นนี้ ย่อมหมายความว่า เวลาถูกบรรจุอยู่ภายในวัตถุชนิดนั้นคือตัวโดมิโน แม้แต่ มอร์เกนเธา [Morgenthau 1965] ก็ได้แสดงความเห็นคล้ายกับนักการเมืองสหรัฐอเมริกาในยุค เดียวกัน เขากล่าวว่าเวียดนามก็เปรียบเสมือนกับ “ ฝาจุดค็อกของขวดไวน์ ” ดังนั้นการแทรกแซงทางการเมืองในอิน โดจีนของสหรัฐอเมริกาจึงมีความชอบธรรมเพื่อป้องกันไม่ให้ไวน์ทะลักออกจากขวดหรือป้องกันไม่ให้โดมิโนล้ม ต่อกันเป็นทอด ๆ จากเวียดนามเหนือ มายังเวียดนามใต้ ลาว และไทย นั่นย่อมหมายความว่าเวลาถูกบรรจุลงในขวด แก้วซึ่งเป็นขวดไวน์ จึงชวนให้จินตนาการต่อไปว่าหากฝากจุดค็อกถูกเปิดออก การตีความเวลาที่ผูกขาดโดยแนวคิด คอมมิวนิสต์ก็จะทะลักออกมาเปรอะเปื้อนพื้นที่ใกล้เคียง จากการวิเคราะห์เอกสารชั้นต้น (primary source) เช่นบันทึกพงศาวดารชาติลาว ความเป็นมาของ ชาติแต่ดึกดำ�บรรพ์ของเจ้าคำ�หมั้นกิจรัตนะ (1973) เมืองจำ�ปาสักเองก็อยู่ในเส้นเขตแดนที่เป็นหมายหมุดสิ้น สุดอำ�นาจอธิปไตยของราชอาณาจักรลาว กล่าวคือในทางทฤษฎี แขวงจำ�ปาสักอยู่ภายใต้การกำ�หนดการดำ�เนิน ของประวัติศาสตร์ที่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลกลางคือเวียงจันทน์ ในทำ�นองเดียวกันกับอุบลราชธานีที่มีการดำ�เนินของ ประวัติศาสตร์ที่ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ มิติด้านเวลาในแบบโครโนสของเมืองทั้งสองเมือง คืออุบลราชธานีและจำ�ปาสักจึงแยกออกจากกัน เนื่องจากว่าถึงแม้จะเป็นเมืองชายแดน แต่การตีความการเขียน ประวัติศาสตร์รัฐยังยึดรัฐเป็นศูนย์กลาง 3.2. ค . ศ . 1975–1989 นับตั้งแต่ ค . ศ . 1975 งานวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแทบจะทั้งหมดยึดมุมมองว่ารัฐเป็นศูนย์กลาง เพื่อมานิยามพื้นที่คือชายแดนไทย - ลาว ว่ามิได้เป็นแค่เพียงเส้นแบ่งพื้นที่ระหว่างรัฐสองรัฐเท่านั้นหากแต่ยังเปรียบ เสมือนเส้นแบ่งโลกอุดมการณ์สองโลกในยุคสงครามเย็น คือเสรีนิยมประชาธิปไตย คือรัฐไทยในฐานะพันธมิตร ของสหรัฐอเมริกา และสังคมนิยมคอมมิวนิสต์คือรัฐลาวในฐานะรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต การดำ�เนินของ ประวัติศาสตร์ในรูปแบบโครโนส ของพื้นที่ภายใต้อำ�นาจรัฐบาลไทยและลาวจึงแตกต่างกันออกไป เคนเน็ธ วอลซ์ [Waltz 1979] ตีความว่ารัฐเป็นหน่วยทางการเมือง (like unit) ซึ่งไม่ต่างจากลูกบิลเลียด และจากการสืบค้นนักวิชาการ นิสิตนักศึกษาตั้งอยู่บนฐานคิดเช่นนี้ กล่าวคือ เส้นเขตแดนมีความสำ�คัญที่รัฐจะต้อง พยายามไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ราชอาณาจักรลาวได้เปลี่ยนแปลงการ ปกครองเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การตีความพื้นที่และเวลาเช่นนี้ ยึดรับเป็นศูนย์กลางจะเห็นได้ ตามตัวอย่างต่อไปนี้ ในงานวิจัยของ สุรชัย ศิริไกร (2527) [ สุรชัย 2527] เขายืนยันว่าไม่ควรมีการละเมิดบูรณภาพเหนือดิน แดนของทั้งรัฐไทยและลาวและเจ้าหน้าที่รัฐไทยจะต้องปฏิบัติหน้าที่รักษาอำ�นาจอธิปไตยอย่างระมัดระวัง แต่ทว่า ภายหลัง ค . ศ . 1975 มีพลเมืองลาวจำ�นวนมากลี้ภัยทางการเมืองข้ามพรมแดนมายังดินแดนของรัฐไทย หากรัฐถูก เปรียบว่าเป็นเหมือนลูกบิลเลียดก็เป็นบิลเลียดที่มีรูพรุนให้ผู้คนจากภายนอกรัฐเดินทางเข้าไปได้ แต่เมื่อมองจาก รัฐเป็นศูนย์กลาง ผู้ที่เดินทางข้ามชายแดนไทยลาวมิได้ผ่านกระบวนการที่รัฐรับรอง เช่นกระบวนการตรวจคนเข้า เมือง จึงมีการใช้ คำ�ว่า “ ผู้ลี้ภัย ” (refugee) มานิยามผู้คนเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานเขียนของ คอรีน เฟื่อง เกษม [Phuangkasem 1984] มีค่ายผู้ลี้ภัยหลายแห่งตั้งอยู่ในจังหวัดชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=