Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

129 ของ จักรกริช [Sankhamanee 2006] และสร้อยมาศ [Rungmanee 2014] กล่าวคือ จักรกริช พูดถึงการ ปฏิสัมพันธ์ของชาวบ้านที่อยู่บริเวณเชียงของและต้องการข้ามฝั่งแม่น้ำ�โขงในชีวิตประจำ�วัน จึงต้องมีปฏิสัมพันธ์ และความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่รัฐ ในแง่นี้ไคโรสจะอยู่ในการตีความของชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่รัฐ เช่นเจ้าหน้าที่ ตรวจคนเข้าเมือง ในฐานะตัวแทนอำ�นาจรัฐ ที่จะต้องตัดสินใจว่าเมื่อใดจะอนุโลมให้ผู้คนทีต้องการข้ามเส้นเขตแดน ไทย-ลาวข้ามได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง หรือตอนใดควร สร้อยมาศกล่าวว่า เมืองชายแดนมี ลักษณะเฉพาะ คือการข้ามเส้นเขตแดนที่ไม่ผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองอาจเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย (illegal) แต่หากเป็นเรื่องที่ชอบธรรม (legitimate) จึงทำ�ได้โดยไม่ได้ดูมีความผิดในชุมชน (licit) การข้ามพรมแดน ไทย - ลาวเพราะเป็นสิ่งที่ผู้คนล้วนปฏิบัติกัน ก็จะถือว่าเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำ�วัน ในทีนี้คือชายแดนบริเวณฝั่ง มุกดาหาร สะหวันนะเขตที่สร้อยมาศทำ�วิจัย แม้จักรกริชและสร้อยมาศ จะไม่ได้กล่าวถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโค รโนสและไคโรสที่ผู้คนในบริเวณเมืองชายแดนได้ท้าทาย โครโนสที่กำ�หนดโดยรัฐ แต่การวิเคราะห์ของนักวิชาการ ทั้งสองท่านได้แสดงให้เห็นถึงความตะกุกตะกักของภาวะเวลา และประวัติศาสตร์ของรัฐเองก็ไม่ได้ดำ�เนินเป็น เส้นตรง ราบเรียบโดยไม่ได้มีสิ่งใดท้าทาย และก็ได้แสดงให้เห็นว่าการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครโนสและไคโรสไม่ จำ�เป็นต้องเป็นชนชั้นนำ�เท่านั้นที่ผูกขาด งานของธนเชษฐ [Wisaijorn 2018] เรียกสภาวะที่ผู้คนในเมืองชายแดนต้องตัดสินใจข้ามเขตแดนไทย- ลาวในชีวิตประจำ�วันในฐานะไคโรสไปท้าทาย โครโนสของรัฐไทยและลาวจนประวัติศาสตร์เองก็ไม่ได้ดำ�เนิน เป็นเส้นตรงอย่างราบเรียบเสียทีเดียว เมื่อเมืองชายแดนอุบลราชธานีและจำ�ปาสักมีความหลากหลาย เมืองชายแดน จึงกลายเป็นพื้นที่ที่สาม กล่าวคือการข้ามชายแดนไทย-ลาวบริเวณโขงเจียม ในจังหวัดอุบลราชธานี ( ไทย ) ซะนะ สมบูน ในแขวงจำ�ปาสัก ( ลาว ) มีลักษณะหลากหลายในด้านการตีความด้านพื้นที่และเวลา บางครั้งผู้คนปฏิบัติ ตามระเบียบเชิงพื้นที่และเวลาที่กำ�หนดโดยรัฐ เมื่อมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นจากรัฐและถ้าไม่มีการตรวจสอบ หากระเบียบนั้นให้ประโยชน์เฉพาะหน้าก็ยิ่งจะปฏิบัติตามแนวคิดเวสต์ฟาเลีย เช่นการที่พนักงานขับเรือจ้างนำ�นัก ท่องเที่ยวล่องแม่น้ำ�โขง ซึ่งหากกล่าวว่าเป็นการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ เขาและเธอจะสามารถเรียกเก็บค่า โดยสารจากนักท่องเที่ยวได้มากกว่าการล่องเรือภายในประเทศ แต่เมื่อใดก็ตามที่ต้องการใช้แม่น้ำ�โขงในการทำ�มา หากินหรือคมนาคมขนส่งในชีวิตประจำ�วัน วาทกรรมที่ว่าแม่น้ำ�โขงเป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศที่แบ่งระหว่าง อุบลราชธานี ( ไทย ) กับแขวงจำ�ปาสัก ( ลาว ) ก็จะไม่มีความสำ�คัญ 3. มิติเวลาที่ยึดรัฐเป็นศูนย์กลาง 3.1. ค . ศ . 1954–1975 ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าทั้งนักคิดสัจนิยม เช่น จอห์น เฮิร์ซ [Herz 1959] กล่าวว่าพรมแดนรัฐเปรียบ เสมือนกับกับ “ เปลือกหอย ” (hard-shell) ซึ่งคอยปกป้องประชากรและดินแดนภายในเปลือกนั้น บทความ ชิ้นนี้ต้องการจะเสนอแนวคิดในมิติของเวลาว่ารัฐเองหรือนักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเองมองว่า เส้นเขตแดนเป็นเปลือกที่บรรจุเวลาไว้ในรัฐ เพื่อที่รัฐจะกำ�หนดควบคุมเวลาภายในของตนเช่นกัน เช่น เวลา ราชการและพักผ่อนของรัฐหนึ่งอาจแตกต่างจากรัฐใกล้เคียง เส้นเขตแดนก็เป็นเหมือนหมุดหมายระบุอำ�นาจ อธิปไตยว่าจุดสิ้นสุดของการบังคับใช้เวลาให้เป็นไปตามความควบคุมของรัฐ ( โครโนส ) อยู่ที่จุดใด เส้น เขตแดนรัฐจึงมีลักษณะเป็นเสมือนภาชนะห่อหุ้มพื้นที่ ซึ่งเป็นหนึ่งในลักษณะของกับดักเส้นเขตแดนตามทัศนะ ของ จอห์น แอ็กนิว [Agnew 1994] ที่ระบุว่าปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ นักทฤษฎีวิชาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศและผู้กำ�หนดนโยบายรัฐยึดมั่นว่าพื้นที่ชายแดนแยกออกจากกัน และงานวิจัยชิ้นนี้เสนอแนวคิด ว่าหากนักวิชาการยึดแนวคิดและติดกับดักเส้นเขตแดนที่มองว่า เส้นเขตแดนเป็นเสมือนขอบภาชนะห่อหุ้มจุด สิ้นสุดอำ�นาจของรัฐก็ย่อมจะติดกับดักห้วงเวลา คือมองว่ารัฐเป็นตัวแสดงหลักแต่เพียงผู้เดียวในการจัดการเวลา ภายในรัฐด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=