Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

128 สร้างตัวบทที่สร้างความเป็นตัวตนของชาติลาว ซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นรัฐลาวใน ค . ศ . 1954 ทั้งนี้ ในช่วงเวลา ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สยามเปลี่ยนชื่อมาเป็นไทย ได้มีความพยายามของรัฐบาลไทยในการสร้างความรู้สึก ชาตินิยม และสร้างวาทกรรมที่ว่าคนลาวเป็นกลุ่มย่อย (subgroup) ของคนไทยและเป็นหน้าที่ของรัฐไทยในการ ปลดปล่อยชาวลาวให้พ้นจากจักรวรรดิตะวันตกคือฝรั่งเศส [Ivarsson 2008; Strate 2015] การปลดปล่อยนั้น คือการผนวกเมืองจำ�ปาสักเข้าสู่รัฐไทยเป็นจังหวัดจัมปาสักและจังหวัดล้านซ้างทางตอนเหนือ ในวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตโดย เดวิด โอลด์ฟิลด์ [Oldfield 1998] ซึ่งมิได้มีทั้งสัญชาติไทยและลาวจึงมิได้ มีลักษณะชาตินิยมของทั้งไทยและลาวปรากฎอยู่ แต่กระนั้นก็ดีความคาดหวังให้ทั้งไทยและลาวเคารพบูรณภาพ แห่งดินแดนก็ไม่เคยเลือนหายไป เขาจึงติดกับดักห้วงเวลาในแง่ที่มองว่ารัฐที่พัฒนาเป็นรูปแบบสมบูรณ์คือรัฐ เวสต์ฟาเลียที่ต้องมีการเคารพบูรณภาพดินแดน แม้ว่าโอลด์ฟิลด์จะนำ�ประเด็นทางประวัติศาสตร์เข้ามาพิจารณา ความสัมพันธ์ของทั้งสองรัฐโดยใช้เนื้อที่ถึงหนึ่งบทจากวิทยานิพนธ์ทั้งหมดก็ตามแต่ประวัติศาสตร์นั้นก็เป็นเส้น ตรง เพราะว่าเขามองประวัติศาสตร์ในลักษณะที่ยึดรัฐเป็นศูนย์กลางและก็มีการผลิตซ้ำ�การผูกขาดการตีความด้าน เวลาโดยชนชั้นนำ� ซึ่งเป็นกับดักห้วงเวลาประการแรกที่กล่าวถึงไปแล้ว โอลด์ฟิลด์ [Oldfield 1998] กล่าวว่าการ รุกรานกัมพูชาของเวียดนามส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย - ลาวด้วย เพราะรัฐไทยมองว่าทหารเวียดนามทั้ง ในลาวและกัมพูชาเป็นภัยคุกคามที่ประชิดเส้นพรมแดนอยู่ รัฐบาลไทยจึงกล่าวโทษรัฐบาลลาวที่ให้การสนับสนุน ทหารเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้แสดงออกชัดเจน ว่าต้องการลงโทษลาว (punishment of Laos) โดยการสนับสนุนอดีตทหารลาวฝ่ายขวาและปิดพรมแดนเพื่อ ไม่ให้สินค้าผ่านไปยังลาว [Oldfield 1998] ด้วยเหตุนี้การเป็นรัฐเวสต์ฟาเลียที่สมบูรณ์จึงเป็นจุดมุ่งหมายทาง ประวัติศาสตร์ที่มองว่าเป็นสิ่งปกติ และฐานคิดเช่นนี้ก็จึงยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ดี งานเชิงประวัติศาสตร์และงานวิจัยเชิงมานุษยวิทยาหลายชิ้นที่ได้เน้นย้ำ�ถึงการตีความด้านเวลา การ ท้าทายช่วงชิงความหมายของเวลาที่รัฐกำ�หนดคือโครโนส และการตีความตามสถานการณ์โดยตัวแสดงที่ข้ามเส้น เขตแดนในชีวิตประจำ�วันคือไคโรสได้ปรากฎในระยะหลัง แม้ว่างานวิจัยหลายชิ้นจะไม่ได้เป็นงานที่ประกาศตน ว่าอยู่ในสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยตรง แต่เนื่องจากจุดวิเคราะห์ของานวิจัยอยู่บริเวณเส้นเขตแดน ซึ่งเป็นเส้นที่ระบุจุดสิ้นสุดของอำ�นาจอธิปไตยของรัฐไทยและรัฐลาว บทความชิ้นนี้จึงเชิญชวนให้นักวิชาการ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นำ�ผลของการวิจัยจากงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์อื่น ๆ เหล่านี้เข้ามาพิจารณาในการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ไทย-ลาวเพื่อการทำ�ความเข้าใจด้านความสัมพันธ์ไทยลาวจะได้เพิ่มมิติของท้องถิ่นเข้าไป ด้วย เช่น งานวิจัยของ แอนดรู วอล์คเกอร์ [Walker 2008] ได้ศึกษาประวัติศาสตร์บริเวณชายแดนไทย - ลาว ที่ เมืองเชียงของ โดยวิเคราะห์ความพยายามในการท้าทายการลากเส้นเขตแดนที่เพิ่งเขียนขึ้นมาใหม่ระหว่างสยามกับ ฝรั่งเศสหลังการลงนามในสนธิสัญญาเมื่อ ค . ศ . 1893 มิติด้านเวลาย่อมดำ�เนินไปโดยรัฐเป็นผู้มีอำ�นาจนำ� จึงอาจ กล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์ที่เป็นโครโนส ได้ถูกไคโรสท้าทายและเปลี่ยนแปลงในตอนที่มีการลงนามในสนธิสัญญา ฉบับนั้นโดยสยามได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐโบราณมาเป็นรัฐสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม วอล์คเกอร์ [Walker 2008] ได้เพิ่มมิติการวิเคราะห์ไปมากกว่านั้น โดยพยายามนำ�การตีความของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐที่บางครั้งก็ฝ่าฝืน บางครั้ง ก็ปฏิบัติตามหลักเขตแดนตามแนวทางเวสต์ฟาเลีย กล่าวคือเขาได้ค้นคว้าหาเอกสารว่าผู้คนในท้องถิ่นพยายามจะ ต่อสู้ช่วงชิงการตีความเชิงพื้นที่ที่รัฐกำ�หนดว่าให้แม่น้ำ�โขงเป็นเส้นเขตแดนแบ่งสยามออกจากอินโดจีน แต่ก็มีผู้คน จำ�นวนหนึ่งข้ามเขตแดนโดยมิได้ขอคำ�รับรองจากรัฐ พวกเขามิได้ผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง แต่หลายครั้งหลาย คราผู้คนกลุ่มเดียวกันก็หันกลับมายอมรับหลักเวสต์ฟาเลีย ในเวลาที่ตนได้ประโยชน์จากการแบ่งเส้นเขตแดนนั้น เช่นเมื่อต้องคดีอาญาในฝั่งสยาม ก็จะข้ามแม่น้ำ�โขงไปอยู่ภายใต้อำ�นาจอธิปไตยของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นดินแดนลาวใน ปัจจุบัน ทำ�ให้เจ้าหน้าที่สยามไม่สามารถติดตามมาดำ�เนินคดีได้ ในที่นี้โครโนสของรัฐบาลกลางถูกท้าทายอยู่ตลอด โดยชีวิตประจำ�วันของคนตัวเล็กตัวน้อยที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนซึ่งถือได้ว่าเป็นไคโรสได้ด้วยเช่นกัน ในทำ�นองเดียวกันงานวิจัยอีกหลายชิ้นหลังทศวรรษที่ 2010 โดยที่มีผู้คนที่แสดงให้เห็นว่าโครโนสคือมิติ เวลาที่ผูกขาดโดยรัฐ ถูกท้าทายจากตัวแสดงที่เป็นผู้คนที่มิได้มีอำ�นาจรัฐยิ่งปรากฏมากขึ้นในงานมานุษยวิทยา ทั้ง

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=