Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

127 2.2. ระหว่าง ค . ศ . 1975 และ 1989 ความสัมพันธ์ระหว่างโครโนสกับไคโรส เริ่มถูกตั้งคำ�ถามว่าผู้กำ�หนดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครโนสกับไค โรส ไม่ควรจะจำ�กัดอยู่เพียงแค่ตัวแสดงที่เป็นรัฐ และแม้จะเป็นการวิเคราะห์ตัวแสดงที่เป็นรัฐก็ควรฟังเสียงจากตัว แสดงที่หลากหลายมากขึ้น กล่าวคือ เมื่อนักวิชาการชาวไทยพยายามจะเล่าประวัติศาสตร์การพัฒนาของสยามจากรัฐ โบราณเป็นรัฐสมัยใหม่โดยมีการผนวกดินแดนส่วนต่าง ๆ เข้า จะมีการตีความของนักวิชาการชาวลาวเข้ามาท้าทาย หรือช่วยเสริมมุมมองในหลายด้าน ยกตัวอย่างเช่น ในเวลาที่มีข้อพิพาทด้านพรมแดน นักวิชาการไทยและลาวต่าง ยกเอาประวัติศาสตร์ที่มองพื้นที่จักรวาลวิทยาแบบมณฑลในยุคก่อนอาณานิคมมาสนับสนุนว่าพื้นที่พิพาทเป็นของ รัฐตน ไม่ว่าจะเป็นขุนนางนักวิชาการไทยอย่าง หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ [Paribatra 1984] หรือนักวิชาการชาว ลาวอย่างเผยพัน [Ngaosyvathn 1985] ทางฝั่งนักวิชาการไทยมักอ้างว่าเวียงจันทน์เป็นประเทศราชของกรุงเทพ ฉะนั้นดินแดนลาวจึงเป็นของไทยมาก่อนที่จักรวรรดิฝรั่งเศสจะขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณอินโดจีนประเด็นที่ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ [Paribatra 1984] ยกสื่อความเป็นชาตินิยมไทยแบบมณฑลที่สนับสนุนการแบ่งเส้น พรมแดนแบบเวสต์ฟาเลีย ในขณะเดียวกันความเป็นชาตินิยมลาวก็ปรากฏอยู่ในงานเขียนของเผยพันด้วย (Ngaosyvathn, 1985) โดยยืนยันว่าใน ค . ศ . 1891 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ยื่นแผนที่หมายเลข no.200 ให้แก่กษัตริย์หลวงพระบางในขณะนั้นซึ่งระบุว่าบ้านกลาง บ้านสว่าง บ้านใหม่อยู่ภายใต้อำ�นาจของ กษัตริย์หลวงพระบาง ด้วยเหตุนี้ทำ�ให้เผยพันไม่อาจจะยอมรับข้ออ้างของรัฐบาลไทยว่าทั้งสามหมู่บ้านอยู่ภายใต้ อำ�นาจอธิปไตยของรัฐไทย เมื่อ ระบุเช่นนี้ บทความชิ้นนี้จึงได้ข้อสรุปว่าประวัติศาสตร์ของลาวเองก็มิได้แตกต่างไป จากประวัติศาสตร์ของไทยที่ยึดมั่นในเส้นเขตแดนแบบเวสต์ฟาเลียและก็เป็นกับดักห้วงเวลาคือ มองประวัติศาสตร์ เป็นเส้นตรง เพียงแต่เมื่อนำ�เสนอต่อวงวิชาการที่มีผู้อ่านเป็นกลุ่มที่อ่านบทความภาษาอังกฤษ จึงมีการช่วงชิงการ ตีความการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครโนสกับไคโรสของมุมมองชาตินิยมจาก สองฝั่งคือ ลาว และไทย แม้ว่าจะยังเป็นมิติด้านเวลาที่ผูกขาดโดยชนชั้นนำ� แต่การตีความด้านเวลาในยุคนี้ก็เปิดพื้นที่ ให้เกิดการต่อสู้ช่วงชิงความหมายมากขึ้นกว่ายุคก่อน 2.3. ค . ศ . 1989 ถึงปัจจุบัน นักวิชาการชาวลาวอย่าง เผยพัน และ มะยุลี เหง้าสีวัด [Ngaosyvathn M., Ngaosyvathn P. 1994] และ ดวงไซ หลวงพะสี (2010) แสดงความเป็นชาตินิยมลาวอย่างชัดเจน กล่าวคือ ชนชาติลาวได้อพยพมาจากทางทิศ เหนือและได้มีการพัฒนาจากรัฐโบราณเป็นรัฐเวสต์ฟาเลีย โดยมีทางเดินประวัติศาสตร์ที่แยกออกจากรัฐไทย โดย เฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่ต้องการโต้แย้งประวัติศาสตร์ชาตินิยมไทยที่เขียนโดยกรมพระยาดำ�รงราชานุภาพว่าสยาม ถูกฝรั่งเศสรุกราน เผยพันและมะยุลี (1994) กล่าวว่าประวัติศาสตร์กระแสหลักไทยมองข้ามเสียงของหัวเมืองลาว ที่อยู่สองฟากฝั่งแม่น้ำ�โขงในช่วงเวลาการสำ�รวจเพื่อทำ�แผนที่ และระบุว่าลาวได้เป็นชาติและเป็นรัฐมาเนิ่นนานก่อน ที่ฝรั่งเศสจะเข้ามาในภูมิภาคนี้ ในขณะเดียวกัน ดวงไซ หลวงพะสี (2010) ได้โต้แย้งวาทกรรมเสียดินแดนของรัฐ ไทยโดยกล่าวว่ารัฐไทยมิได้เสียดินแดนให้กับฝรั่งเศส หากแต่เป็นลาวที่ถูกสยามและฝรั่งเศสใช้แม่น้ำ�โขงมาแบ่งดิน แดนกัน บทความฉบับนี้ยืนยันว่าการนำ�ความเป็นชาติที่มีมาก่อน ค . ศ . 1893 มาอ้างความถูกต้องของพรมแดนตาม หลักกฎหมายระหว่างประเทศเป็นเพียงการปลุกเร้าความรู้สึกชาตินิยมเพื่อสนับสนุนการใช้อำ�นาจอธิปไตยเหนือ พื้นที่พิพาทเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ กับดักเส้นพรมแดนจึงยังคงปรากฏอยู่ นักวิชาการตะวันตกอย่างเช่น อิวาร์สสัน [Ivarsson 2008] ได้พยายามชี้ให้เห็นถึงสภาวะตะกุกตะกักของห้วงประวัติศาสตร์ ในขณะที่ประวัติศาสตร์ของ ไทย และลาวดำ�เนินไป ในฐานะโครโนส ความไม่แน่นอนและการต่อสู้ช่วงชิงทางด้านความหมายคือไคโรส อิวาร์ สสันได้แสดงทัศนะว่าสาเหตุที่การเล่าเรื่องทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเส้นตรงของทั้งไทยและลาวที่แม้จะมีจุดร่วมกัน ในแง่แหล่งกำ�เนิด แต่ภายหลังมีความแตกต่างกัน ก็เนื่องมาจากว่าเจ้าอาณานิคมอย่างจักรวรรดิฝรั่งเศส พยายามผลิต

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=