Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

126 มีลักษณะเป็นเส้นตรง ซึ่งมองประวัติศาสตร์ที่พัฒนาจากรัฐที่ยังไม่มีเส้นเขตแดนแบบเวสต์ฟาเลีย ไปเป็นรัฐที่มีเขต แดนแบบเวสต์ฟาเลีย ส่งผลทำ�ให้ภาพการตีความด้านเวลาที่มีลักษณะหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตีความของ ผู้คนในบริเวณชายแดนไม่เคย หรือไม่ค่อยได้รับการถูกกล่าวถึงเลย ดังจะได้อธิบายในรายละเอียดดังต่อไปนี้ นักคิดสัจนิยมคลาสสิค เช่น เฮิร์ซ [Herz 1959] มอร์เกนเธา [Morgenthau 1965] และแม้แต่นักสัจนิยม ใหม่อย่างวอลซ์ [Waltz 1979] ได้ติดกับดักห้วงเวลา (Temporal Trap) ดังที่ได้กล่าวไปแล้วและเมื่อพิจารณา เทียบงานเขียนของนักวิชาการชาวลาว มหาสิลา วีระวง [Viravong 1964] ก็มีการตีความการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง โครโนสกับไคโรส ในลักษณะเป็นเส้นตรงในทำ�นองเดียวกัน ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นการมองประวัติศาสตร์ว่าทุก ชนชาติในโลกจะต้องพัฒนารูปแบบรัฐเป็นรูปแบบเวสต์ฟาเลียตามอย่างการจัดการปกครองแบบตะวันตก และมี นัยยะของความสูงส่งทางด้านความรู้แบบจักรวรรดินิยม [Chakrabarty 2008] มหาสิลา วีระวง [Viravong 1964] เองได้รับอิทธิพลจากนักประวัติศาสตร์ชาตินิยมชาวไทย คือหลวงวิจิตรวาทการเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ใน งานเขียนประวัติศาสตร์ชนชาติลาวได้เดินทางอพยพมาจากจีนพร้อม ๆ กับชนชาติไทย ก่อนจะตั้งหลักแหล่งใน สองฝั่งฟากของลุ่มแม่น้ำ�โขง ลำ�ดับขั้นของการบรรยายเชิงประวัติศาสตร์จึงถูกลากเป็นเส้นตรงจากเผ่าเร่ร่อน ใน จีนในปัจจุบันก่อนจะอพยพลงมาทางทิศใต้และตั้งเป็นอาณาจักรลุ่มแม่น้ำ� ในครั้งแรกยังมีการตีความพื้นที่ตามแบบ จักรวาลวิทยาแบบมณฑล ตามทัศนะของ ธงชัย [Winichakul 1994] และวอลเตอร์ส [Wolters 1999] ก่อน ที่จะมีการนำ�การจัดการพื้นที่แบบเวสต์ฟาเลียมาใช้ในยุคอาณานิคมจนกระทั่งลาวเป็นเอกราชในที่สุด ซึ่งในบท บันทึกภาษาลาวฉบับอื่นก็มีการตีความเวลาเป็นเส้นตรงในลักษณะคล้ายกัน มหาสิลา วีระวงศ์ (1964) เช่น เจ้าคำ� หมั้นวงกิตรัตนะ (1973) ก็มีการบอกเล่าเรื่องการอพยพลงของชนชาติลาวจากพื้นที่ของจีนในปัจจุบันลงมาทางทิศ ใต้เช่นกัน ในทำ�นองเดียวกันนักวิชาการไทยได้นำ�ประวัติศาสตร์ชาตินิยมของรัฐไทยมาประกอบคำ�อธิบายควบคู่ไปกับการ บรรยายพื้นที่ของรัฐแบบเวสต์ฟาเลีย ยกตัวอย่างเช่น วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตของ เตช บุนนาค [Bunnag 1968] แม้ จะไม่ได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่ารัฐแบบเวสต์ฟาเลียเป็นรูปแบบรัฐที่ดีที่สุด ซึ่งประวัติศาสตร์ชาวสยามควรดำ�เนินไป ให้ถึงโดยการพัฒนาระบบการเมืองการปกครอง แต่เตช ได้กล่าวถึงการปฏิรูประบบราชการจากรัฐโบราณที่การอ่าน พื้นที่ในขณะนั้น ที่ยังไม่ได้มีการแยกพื้นที่ภายในออกจากภายนอกรัฐ ในบริเวณชายแดนลุ่มน้ำ�โขงเองก็ไม่ได้จำ�แนกว่า พื้นที่ใดเป็นของสยาม พื้นที่ใดเป็นของอินโดจีนภายใต้อำ�นาจอธิปไตยของฝรั่งเศส แต่ภายหลังจากที่มีการนำ�ระบบการ ปกครองแบบเทศาภิบาล คือรูปแบบรัฐราชการสมัยใหม่มาใช้ เตช [Bunnag 1968] เชื่อว่ารัฐสยามแม้จะไม่สามารถ เปลี่ยนเป็นรัฐสมัยใหม่ชั่วข้ามคืน แต่ในท้ายที่สุดแล้วสยามจะเป็นรัฐสมัยใหม่ได้สำ�เร็จ ยังมีตำ�ราในสาขาวิชาต่างประเทศที่ผู้เขียนเป็นนักวิชาการชาวไทยซึงผู้เขียนมองว่าแม้จะเป็นการตีความที่ ผิดยุค แต่นัยยะแห่งความเป็นเส้นตรงของการดำ�เนินของเวลาก็ปรากฏอยู่ เช่น พันธุ์สูรย์ ลดาวัลย์ (2513) ได้ ยกประวัติศาสตร์ที่มีแนวโน้มไปทางชาตินิยมมาสนับสนุนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาว วาท กรรมการเสียดินแดนที่ราชสำ�นักสยามพิพาทกับจักรวรรดิฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1893 ถูกยกเข้ามากล่าวถึงอีก ( พันธุ์ สูรย์ , 2513) การยกวิธีอ่านพื้นที่แบบจักรวาลวิทยาแบบมณฑลก่อนยุคอาณานิคมมาสนับสนุนขออ้างว่าดินแดน บางจุดอยู่ใต้อำ�นาจอธิปไตยของรัฐตน ถือเป็นการอ้างที่ผิดฝาผิดตัว ด้วยเพราะก่อนหน้า ค . ศ . 1893 ยังไม่เคย มีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรบันทึกเส้นแบ่งพรมแดนแบบสมัยใหม่ ดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ�โขงซึ่ง เป็นพื้นที่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบันจึงมิได้เป็นของราชสำ�นักสยามในทางนิตินัย (de jure) แต่เมื่อพันธุ์สูรย์แสดงทัศนะเช่นนี้ เขาจึงยังมิอาจกล่าวข้ามกับดักห้วงเวลาไป คือ พันธุ์สูรย์เองยังมองว่า รัฐในรูปแบบจักรวาลวิทยาแบบมณฑล หากจะอยู่รอดในอนาธิปไตยของการเมืองระหว่างประเทศก็ต้องมีการนำ�วิธี คิดการจัดการเขตแดนแบบเวสต์ฟาเลียมาใช้ การตีความเวลาของพันธุ์สูรย์ จึงเป็นการนำ�โครโนสที่รัฐเป็นผู้ควบคุม เวลามาบรรยายประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ที่แม้จะมีความลักลั่น และมีการนำ�ฐานคิดในอดีตมาใช้กับ ปัจจุบัน แต่ร่องรอยการตีความประวัติศาสตร์ที่เป็นเส้นตรงก็ปรากฎอยู่ แต่แม้กระนั้นการตีความด้านเวลาเช่นนี้ก็ยัง คงมีอิทธิพลเป็นอย่างมากในการตีความด้านเวลาในสาขาสังคมศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=