Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

125 หลังจากการเมืองในระดับโลกได้ปรากฏว่ามีการทำ�ลายกำ�แพงเบอร์ลินอันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น ลงใน ค . ศ . 1989 พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของไทยในช่วงเวลานั้นได้ประกาศวิสัย ทัศน์ซึ่งมีความสำ�คัญเป็นอย่างมากต่อชายแดนไทย - ลาว เมื่อนายกรัฐมนตรีไทยต้องการจะเปลี่ยนพื้นที่อดีตรัฐ อินโดจีนที่เต็มไปด้วยศึกสงครามให้กลายเป็นสนามการค้า [Erlanger 1989; Paribatra 2013] บทความชิ้น นี้จึงใช้ ค . ศ . ​1989 เป็นเสมือนหมุดหมายของจุดสิ้นสุดสงครามเย็นในภูมิภาคนี้เพื่อการวิเคราะห์มิติด้านเวลาใน วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่กล่าวถึงชายแดนไทย - ลาว นี้ ในวิทยานิพนธ์ของรัชฏา จิวาลัย [Jiwalai 1994] สะท้อนให้เห็นว่าชนชั้นนำ�ทางการเมืองของทั้งไทยและลาวยังมีส่วนสำ�คัญในการกำ�หนดในการดำ�เนินไป ของประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากบทวิเคราะห์ของรัชฏา [Jiwalai 1994] ได้เริ่มมีการ ตั้งคำ�ถามกับข้าราชการในฐานะชนชั้นนำ�ว่ามีส่วนส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ลาวในรูปแบบใด โดยยก ตัวอย่างการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในกรณีพิพาทด้านเขตแดนในเหตุการณ์ 3 หมู่บ้านเมื่อปี ค . ศ . 1984 และกรณี บ้านร่มเกล้าเมื่อปี ค . ศ . ​ 1987–1988 มาร์ติน สจ๊วต - ฟ็อกซ์ [Martin Stuart Fox 1997] ยังได้ตั้งข้อสังเกต อีกว่า การปะทะกันทางทหารจนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนับร้อยที่หมู่บ้านร่มเกล้านั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นความขัดแย้ง ระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารฝั่งไทยที่ขัดผลประโยชน์ทางธุรกิจในการค้าไม้จากฝั่งลาว หากข้อสังเกตดังกล่าวเป็นความ จริง ก็จะยิ่งเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในการสนับสนุนหัวข้อย่อยนี้ว่าการดำ�เนินประวัติศาสตร์ของรัฐทั้งไทยและลาวเป็น ไปด้วยการปฏิบัติและตัดสินใจของชนชั้นนำ�ทางการเมือง แม้ว่าจะไม่ใช่ชนชั้นนำ�ในระดับชาติแต่ก็ยังเป็นเจ้าหน้าที่ ข้าราชการในบริเวณเขตแดนไทยลาวเอง หลังสงครามเย็นเป็นต้นมา บุคคลทั่วไปเข้ามามีสิทธิ์มีเสียงปรากฏในบทความวิชาการ แต่ยังมีงานที่เสียง ของชนชั้นนำ�ยังปรากฎอยู่จะเห็นได้จากการยกประเด็นความร่วมมือว่ามีการริเริ่มร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง (Greater Mekong Subregion: GMS) โดย สุรชัย ศิริไกร (2546) [ สุรชัย 2546] หรือไม่ว่าจะเป็นการที่ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN) พยายามเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหา ชายแดนไทย - ลาว หรือปัญหาผู้ลี้ภัยชาวลาวในรัฐไทย [Amer 1999] หรือปัญหาชาวม้งในวิทยานิพนธ์ของโอลด์ ฟิลด์ [Oldfield 1998] งานวิจัยของ สุภางค์ และถวิล (2551) ตลอดจนวิทยานิพนธ์ของ ม . ล . พินิตพันธุ์ [Pariba- tra 2013] เองก็เน้นยำ�ถึงกลไกระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาเป็นสำ�คัญ ในระยะเวลาหนึ่งทศวรรษหลังจากนั้น เสียงของผู้คนที่ถูกผลักไปอยู่ชายขอบ (marginalised people) กลับยิ่งปรากฏชัดในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ไทย - ลาวในบริเวณชายแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่มีลักษณะ ที่เป็นมานุษยวิทยา เช่น งานของจักรกริช สังขมณี [Sankhamanee 2006] ซึ่งวิเคราะห์การใช้ชีวิตประจำ�วันใน ลุ่มแม่น้ำ�โขงบริเวณอำ�เภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่ติดกับชายแดนเมืองห้วยซายของลาว โดยได้นำ�เสนอแนวคิด แบบการอ่านพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำ� ที่แม่น้ำ�โขงสามารถเป็นได้ทั้งเส้นเขตแดนรัฐหากจะตีความตามที่ชนชั้นนำ�ทาง การเมืองของรัฐไทยและลาวต้องการให้เป็น และในขณะเดียวกันการตีความแบบผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นซึ่งมองว่า แม่น้ำ�โขงเป็นจุดที่ใช้คมนาคม และหาอาหารในชีวิตประจำ�วันก็ปรากฎผสมผสานด้วย ซึ่งภายหลังวิทยานิพนธ์ดุษฎี บัณฑิตของทั้ง สร้อยมาศ [Rungmanee 2014] และธนเชษฐ [Wisaijorn 2018] ก็ได้วิเคราะห์โดยละเอียดมาก ยิ่งขึ้น กล่าวคือการกำ�หนดเวลาที่ตัวแสดงทางการเมืองมิได้จำ�กัดอยู่แต่เพียงชนชั้นนำ�ที่กำ�หนดการดำ�เนินนโยบาย อยู่จากส่วนกลางของประเทศเท่านั้น หากแต่เสียงของผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนก็มีฐานะตัวแสดงทางการเมือง (political actor) 2. การตีความเวลาซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นตรง 2.1. ความสัมพันธ์ไทยลาวจาก ค . ศ . 1954 ถึง 1975 ประวัติศาสตร์ที่ถูกนำ�มาใช้ประกอบในงานเขียนเชิงวิชาการในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฐานคิดดัง กล่าวปรากฎอยู่ในงานเขียนของนักสัจนิยมคลาสสิค อาทิเช่น จอห์น เฮิร์ซ [Herz 1959] กล่าวคือประวัติศาสตร์

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=