Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

124 ลาวยังกล่าวหาว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นหนึ่งแผนการที่จะขยายอาณาเขตของสยามที่ได้ยึดครองจังหวัดใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนั้นที่ขณะนั้นมี 16 จังหวัดและประชากรส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงทาง วัฒนธรรมของลาว คำ�กล่าวอ้างดังกล่าวยังคงปรากฎอยู่ในเอกสารประกอบการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน ทั้งหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ [Paribatra 1984; ขจัดภัย 2531] ทางฝั่งไทย และเผยพัน [Ngaosyvathn 1985] ทางฝั่งลาวล้วนตีความการเดินทางของเวลา ( โค รโนส ) ตามแบบชนชั้นนำ�ที่ผลิตซ้ำ�วาทกรรมชาตินิยมในแบบของตน คือทั้งรัฐไทยและรัฐลาวว่าทั้งสอง รัฐจะต้องมีองค์ประกอบครบ 4 ประการในแบบรัฐสมัยใหม่ คือ ประชากร เขตแดน รัฐบาลและอำ�นาจ อธิปไตย จุดตัดของเวลา ( ไคโรส ) ก็คือช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัฐโบราณจากอาณาจักรสยาม - ล้านช้าง ที่จะต้อง กลายเป็นรัฐสมัยใหม่ กล่าวคือรัฐบาลสยามและอินโดจีนของลาวถูกมองว่าเป็นช่วงเวลาที่ต้องมีการเจรจา ต่อรองให้การเปลี่ยนผ่านนั้นก้าวไปสู่ช่วงเวลาใหม่ ซึ่งละวางหลักการจัดการพื้นที่แบบจักรวาลวิทยาแบบ มณฑล เป็นรัฐแบบเวสต์ฟาเลีย ทว่าทั้งหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ [Paribatra 1984] ขจัดภัย (2531) และ เผยพัน [Ngaosyvathn 1985] ไม่ได้กล่าวถึงสภาพการเมืองและการเจรจาที่ต้องผ่านกระบวนการความ เป็นการเมือง หลายต่อหลายครั้ง ตัวแสดงที่ไม่ได้เป็นรัฐพยายามแสดงมุมมองของตน ทว่าไม่ได้มีการบันทึก ไว้และไม่ได้มีการกล่าวถึงในเอกสารวิชาการ กว่ารัฐโบราณจะกลายเป็นรัฐเวสต์ฟาเลียได้ ซึ่งในงานเขียน ทางวิชาการของนักประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ในยุคต่อ ๆ มาพยายามได้อธิบายถึงภาวะความเป็นการเมือง ระหว่างไทยกับลาว เช่น ธงชัย วินิจจะกูล [Winichakul 1994] ธนเชษฐ วิสัยจร [Wisaijorn 2015] และเชน สเตรท [Strate 2015] ว่าจุดเปลี่ยน คือไคโรสไม่ได้เปลี่ยนเพียงชั่วข้ามคืนโดยไม่มีการท้าทาย และคัดค้านจากการตีความเชิงพื้นที่ในรูปแบบอื่น 1.3. การกำ�หนดการดำ�เนินประวัติศาสตร์โดยชนชั้นนำ�รัฐหลังสงครามเย็น 1989 - ปัจจุบัน ในงานเขียนเชิงวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ภาพรวมในช่วงเวลานี้ การตีความด้านเวลาที่ปรากฏอยู่ใน งานวิชาการว่าด้วยความสัมพันธ์ไทย - ลาว ไม่ได้ถูกผูกขาดอยู่แต่กับชนชั้นนำ�ทางการเมืองเสียทีเดียวจนปรากฏ แต่การตีความในรูปแบบโครโนส แต่มีความน่าสนใจที่ควรกล่าวถึงในสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งงานเขียนเชิงวิชาการ วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ยังจะปรากฏว่าการตีความมิติเวลายึดโยง กับพื้นที่รัฐแบบเวสต์ฟาเลียและก็จะถูกผูกขาดโดยชนชั้นนำ�อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่นงานเขียนของ เผยพัน และ มะยุลี เหง้าสีวัด [Ngaosyvathn, Ngaosyvathn 1994] วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตของ รัช ฏา จิวาลัย [Jiwalai 1994] เดวิด โอลด์ฟิลด์ [Oldfield 1998] งานวิจัยของ เขียน ธีระวิทย์ และ อดิสรณ์ เสมแย้ม [Theeravit, Semyeam 2003] รวมไปจนถึง ม . ล . พินิตพันธุ์ บริพัตร [Paribatra 2013] ในงาน เชิงมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์ในยุคหลัง ๆ ที่แม้จะไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ แต่จุดมุ่งเน้นการวิจัยปรากฎอยู่บริเวณพื้นที่ชายแดนไทย - ลาวในหลาย ๆ พื้นที่ ก็ปรากฎถึงการ ตีความเวลาโดยมีมุมมองของผู้คนในเมืองชายแดนมากขึ้น เช่น วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตของ พลวิเชียร ภู กองไชย (2546) [ พลวิเชียร 2546] งานของ จักรกริช สังขมณี [Jakkrit Sanhamanee 2006] แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ [Walker 2008] และในวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สร้อยมาศ รุ่งมณี [Rungmanee 2014] และ ธนเชษฐ [Wisaijorn 2018] ซึ่งได้ระบุว่าจุดยืนทางวิชาการอยู่ในกลุ่มเมืองชายแดนศึกษา (Borderland Studies) และมีความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแง่ของชายแดนที่เป็นพื้นที่ที่สาม ที่ผู้คน ของรัฐไทยและลาวมีปฏิสัมพันธ์กันข้ามเส้นแบ่งอำ�นาจอธิปไตยรัฐ ในแง่นี้การตีความเวลาของผลงานวิชาการ จึงไม่ได้ถูกผูกขาดอยู่กับชนชั้นนำ�ทางการเมืองอีกต่อไป หากแต่เป็นการผสมผสานกันระหว่างโครโนสของรัฐ ที่ส่วนกลางคือ กรุงเทพฯ และเวียงจันทน์ได้พยายามบังคับใช้ และการตีความด้านเวลาตามสถานการณ์เฉพาะ หน้า คือไคโรสที่ผู้ที่ข้ามเขตแดนเองอาจจะปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตามฐานคิดพื้นที่แบบเวสต์ฟาเลีย ก็ได้ขึ้น อยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้า

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=