Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

123 หรือแม้กระทั่งบันทึกของตระกูลเจ้าเมืองลาวที่กระจัดกระจายอยู่สองฝั่งแม่น้ำ�โขงขณะนั้นมาร่วมอภิปราย หากว่า งานวิจัยทางประวัติศาสตร์ในยุคหลังได้พบว่ามีความพยายามโน้มน้าวให้ผู้คนภักดีกับรัฐไทย ดังที่ปรากฎในเอกสาร ของผู้ปฏิบัติราชการต่างพระเนตรพระกรรณในอุบลราชธานี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เมื่อ ครั้งต้องรายงานกลับไปยังกรุงเทพฯ ถึงลักษณะทางชาติพันธุ์ของผู้คนในท้องที่อุบลราชธานี ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ มีเชื้อชาติลาว ผู้รายงานก็พยายามลบคำ�นิยามว่าผู้คนแถบนี้มี “ เชื้อชาติลาว ” ดังปรากฎเป็นรอยขีดฆ่าในเอกสาร ตามหลักฐาน [IIjima 2018] ซึ่งชนชั้นนำ�ได้มีส่วนสำ�คัญในการสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่ คือการให้คนลาว ในอุบลราชธานีนิยามตนเองว่าเป็นคนอีสาน และคนอีสานก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยามหรือไทย ส่วนจำ�ปาสักก็ ถูกผนวกให้เข้าร่วมกับการดำ�เนินประวัติศาสตร์ ( โครโนส ) ของความเป็นชนชาติลาว ที่จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นผู้ สนับสนุน [Ivarsson 2008] ประวัติศาสตร์ระหว่างอุบลราชธานีและจำ�ปาสักซึ่งภายหลังตกอยู่ใต้อธิปไตยของ ฝรั่งเศสแม้จะมีพื้นที่ติดกัน แต่มิติแห่งเวลาก็ตัดขาดออกจากกันโดยการกำ�หนดของชนชั้นนำ�ของทั้งสองรัฐคือสยาม และฝรั่งเศส [Baird 2013] 1.2. ความสัมพันธ์ไทยลาวจาก ค . ศ . 1975–1989 การผูกขาดด้านการตัดสินใจเชิงนโยบายต่างประเทศระหว่างรัฐไทยกับลาวในฐานะความพยายามให้การ กำ�หนดเวลาเป็นไปตามแผนการของรัฐบาล ( โครโนส ) ได้ถูกวิเคราะห์ย้อนกลับไปตั้งแต่ก่อนลาวจะได้รับเอกราช จนเป็นราชอาณาจักรลาว ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 สุรชัย ศิริไกร [Sirikrai 1979] ได้วิเคราะห์พลเมืองชาว ไทยที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐไทยแต่ว่ามีความใกล้ชิดทางภาษา วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ จน มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องทางการเมืองกับชาวลาวในราชอาณาจักรลาวตั้งแต่ช่วงก่อนที่ลาวจะได้รับเอกราชจนได้ รับเอกราชใน ค . ศ . ​1954 ภาคอีสานเองก็เหมือนจะมีเทือกเขาเพชรบูรณ์ที่เป็นคุณลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่กีดขวาง พื้นที่อีสานออกจากภาคกลางหากต้องการเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ และยิ่งในยุคนั้น การคมนาคมขนส่งไม่สะดวก นัก [Sirikrai 1979] รัฐบาลเผด็จการทหารจึงต้องการกำ�หนดนโยบายไม่ให้ผู้คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ รับอิทธิพลจากแนวคิดสังคมคอมมิวนิสต์ซึ่งแผ่ขยายมาจากเวียดนามและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รัฐบาลไทยในขณะนั้นจึงได้ยอมรับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจำ�นวนมหาศาลเพื่อพัฒนา ระบบสาธารณูปโภคและเส้นทางการคมนาคมขนส่ง [ กุลลดา 2550] เช่นการตัดถนนมิตรภาพจากกรุงเทพฯ ผ่าน เส้นทางนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานีและหนองคาย การกำ�หนดนโยบายเช่นนี้ แน่นอนว่าเป็นรัฐบาล ทหารที่เป็นชนชั้นนำ�เป็นผู้ผูกขาดการตัดสินใจ ซึ่งสามารถอธิบายในเชิงมิติด้านเวลาคือ ยึดนโยบายจากรัฐบาล กลางและหมุนกงล้อประวัติศาสตร์ให้มีการพัฒนา ตามวาทกรรมพัฒนา [ ไชยรัตน์ 2554] ไปเป็นลำ�ดับขั้น การ ปฏิสัมพันธ์โครโนสและไคโรสจึงผ่านการควบคุมและคัดเลือกจากชนชั้นนำ�ในรัฐบาล คือพื้นที่อีสานได้รับการ สนับสนุนเม็ดเงินจากสหรัฐอเมริกาจำ�นวนมหาศาลให้พัฒนาระบบสาธารณูปโภค คมนาคมขนส่งต่าง ๆ ซึ่งจัดได้ ว่าเป็นไคโรสได้เช่นกัน หากกล่าวว่ามิติด้านเวลาในวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างไทยกับลาวในยุคนี้ถูกผูกขาด โดยชนชั้นนำ�ก็คงจะถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดจากความเป็นจริงนัก แม้ในขณะเวลานั้นคือ ค . ศ . 1975–1989 ผู้เขียนอย่าง หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ [Paribatra 1984] จะยังคงดำ�รงตำ�แหน่งนักวิชาการด้านความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ได้ตีพิมพ์บทความวิเคราะห์การถอนทหารของสหรัฐอเมริกาออกจากอินโดจีน แต่สองทศวรรษให้หลังเขาก็ก้าวเข้ามาดำ�รงตำ�แหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาล ชวน หลีกภัย กล่าวคือ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ [Paribatra 1984] หรือแม้กระทั่ง ขจัดภัย บุรุษพัฒน์ (2531) เองก็ยังคงผลิตซ้ำ�วาทกรรมเสียดินแดนว่าลาวเป็นส่วนหนึ่งของสยามก่อนจะเปลี่ยนเป็นไทย โดย ยึดหลักปฏิบัติแบบจักรวาลวิทยามณฑล (Mandala) ตามที่ โวลเทอร์ส [Wolters 1999] ได้อธิบายไป ในบทก่อนหน้า และก็เช่นเดียวกันที่นักวิชาการชาวลาวอย่าง เผยพัน เหง้าสีวัด [Ngaosyvathn 1985] จะ ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้แกนนำ�ขบวนการปะเทดลาว (Pathet Lao) ซึ่งภายหลังก้าวเข้ามามีอำ�นาจในรัฐบาล

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=