Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

122 ไทย - ลาวมากจนเกิดการกระทบกระทั่งจนเป็นกรณีพิพาทกับไทยหลายต่อหลายครั้ง ด้วยเส้นเขตแดนไทย - ลาว ในขณะนั้น ไม่ได้ทำ�หน้าที่แค่เพียงเส้นแบ่งอำ�นาจอธิปไตยของรัฐสองรัฐ หากแต่ยังเป็นเส้นแบ่งโลกอุดมการณ์ สองโลกคือเสรีนิยมประชาธิปไตย กับสังคมนิยมคอมมิวนิสต์อีกด้วย ทหารไทยไม่สามารถเข้าไปในเขตแดน ลาวได้อีก ไม่ว่าจะโดยเปิดเผยหรือในทางลับ แต่ทหารเวียดนามกลับได้รับอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติการทางทหาร ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็เป็นชนชั้นนำ�ในรัฐบาลอีกที่ผูกขาดการตีความที่จะอนุโลม หรือ ไม่อนุโลมให้มีการปฏิบัติการทางทหารภายในลาว ซึ่งภายหลัง ค . ศ . 1975 ไกสอน พมวิหาน ประธานประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็ใช้วิจารณญาณในการเลือกตัดสินใจว่าจะบังคับใช้การตีความเชิงพื้นที่ แบบรัฐเวสต์ฟาเลียกับรัฐบาลใด กล่าวคือจะเคร่งครัดกับรัฐบาลไทยแต่จะอนุโลมกับเวียดนาม เนื่องจากลาวและ เวียดนามได้ลงนามใน “ สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือลาวและเวียดนาม ” (Treaty of Friendship and Cooperation between Lao People’s Democratic Republic and the Socialist Republic of Viet- nam) ไปแล้ว การลากเส้นเขตแดนไทย - ลาว เป็นการตกลงกันระหว่างชนชั้นนำ�ของทั้งสองรัฐ ทว่าหลายต่อหลายครั้งก็ เหมือนจะมองข้ามการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครโนสและไคโรสของผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณชายแดน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในช่วงสงครามเย็นซึ่งผู้คนจำ�นวนมากมายต้องเสียชีวิต บาดเจ็บและต้องถูกบังคับให้อพยพย้ายถิ่น แม้ว่า กัมพูชา ลาว เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้จะได้รับเอกราชแล้วตั้งแต่ ค . ศ . 1953–1954 แต่ผู้คนก็ยังได้รับผลก ระทบคือผลพวงของสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่งตั้งแต่ทศวรรษที่ 1940 และ 1950 เฉพาะในเวียดนามก็คาดการณ์ ว่ามีผู้เสียชีวิตนับล้านคนเลยทีเดียว [Hirshman, Preston, Loi 1995] ในตำ�ราเรียนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่ง มล . พันธุ์สูรย์ ลดาวัลย์ (2513) [ พันธุ์สูรย์ 2513] เป็นผู้เขียน ได้สื่อนัยยะถึงการผูกขาดด้านเวลาของชนชั้นนำ�ทางการเมืองใน การกำ�หนดนโยบายต่างประเทศและการดำ�เนินความสัมพันธ์ไทย - ลาว กล่าวคือมีการกล่าวอ้างประวัติศาสตร์เมื่อ ครั้งยังมิได้มีสนธิสัญญาสยาม - ฝรั่งเศสใน ค . ศ . 1893 ว่าลาวซึ่งตอนนั้นเป็นอาณาจักรโบราณ เป็นประเทศราช ของกรุงรัตนโกสินทร์ และหลังจากนั้นสยาม คือราชสำ�นักกรุงเทพฯ ได้สูญเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำ�โขงให้กับ ฝรั่งเศส ซึ่งเรื่องเล่าในลักษณะนี้ไม่ได้ถูกตีความแบบเดียวกัน หากจะศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ในระดับ มัธยมของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือนักวิชาการชาวไทยในยุคหลังอาทิเช่น ธงชัย วินิจจะกูล [Winichakul 1994] มองว่าผู้คนที่มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันและพูดภาษาคล้ายคลึงกันคือภาษาลาวได้อาศัยอยู่ สองฟากฝั่งแม่น้ำ�โขงคือทั้งในลาวและภาคอีสานของไทย ส่วนสนธิสัญญาสยาม - ฝรั่งเศสนั้นเป็นหลักฐานทาง กฎหมายระหว่างประเทศที่บ่งบอกว่าอาณาจักรลาวโบราณถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ภายใต้การจัดการพื้นที่แบบ รัฐสมัยใหม่ กล่าวคือฝั่งซ้ายแม่น้ำ�โขงตกอยู่ภายใต้อำ�นาจอธิปไตยของฝรั่งเศสในอินโดจีน ส่วนฝั่งขวาแม่น้ำ�โขง ซึ่งคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบันตกอยู่ภายใต้อำ�นาจอธิปไตยของสยาม การตีความของ มล . พันธุ์สูรย์ ลดาวัลย์ (2513) จึงเป็นการผลิตซ้ำ� การตีความด้านเวลาที่ยึดชนชั้นนำ�ในราชสำ�นักกรุงเทพฯ ว่าเป็นผู้มีอำ�นาจใน การกำ�หนดการเดินของเวลา ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นสยามในฐานะรัฐสมัยใหม่ และการตีความในลักษณะที่ยึดถือ ชนชั้นนำ�จากส่วนกลางของกรุงเทพฯ เป็นหลัก นอกจากนี้แล้ว เตช บุนนาค [Bunnag 1968] ในฐานะนักวิชาการ และภายหลังเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ได้กล่าวในวิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิตของเขาว่าการตัดสินใจนำ�วิธีอ่านเขตแดนแบบเวสต์ฟาเลียมาใช้ไม่ได้เกิดเพียงชั่วข้ามคืน แต่ว่าค่อน ข้างกินระยะเวลาจาก ค . ศ . 1892–1915 กว่าผู้คนจะเริ่มทำ�ความเข้าใจคือ ไคโรสแบบใหม่ที่เปลี่ยนวิถีปฏิบัติมา ยึดพื้นที่ตามแนวทางรัฐเวสต์ฟาเลียจากมุมมองของกรุงเทพฯ ก็ใช้เวลานับทศวรรษ กระบวนการเปลี่ยนแปลงดัง กล่าวที่ส่วนกลางพยายามส่งเสริมการตีความพื้นที่แบบใหม่ ได้ดำ�เนินการโดยมอบหมายให้พระอนุชาของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเข้ามาจัดการการปกครองในหัวเมืองลาวบริเวณแม่น้ำ�โขงฝั่งขวา ทั้งการจัดการ ภาษีและจัดการสำ�มะโนครัวประชากร กล่าวคือทั้ง มล . พันธุ์สูรย์ ลดาวัลย์ (2513) และ เตช บุนนาค [Bunnag 1968] ก็ไม่ได้นำ�ข้อกล่าวอ้าง ซึ่งเป็นการบอกเล่าอีกรูปแบบหนึ่งและเป็นการตีความเวลาที่แตกต่างไปจากฝั่งลาว

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=