Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

121 1. กับดักห้วงเวลาในความสัมพันธ์ไทย - ลาว 1.1. ความสัมพันธ์ไทยลาวจาก ค . ศ . 1954 ถึง 1975 ตามกรอบการวิเคราะห์มิติเวลาของฮัตชิงส์ [Hutchings 2008] โครโนสเป็นการดำ�เนินของเวลาที่เป็น เส้นตรง หากเป็นการวิเคราะห์การเมืองมักจะเป็นการกำ�หนดบังคับใช้เวลาโดยรัฐ ซึ่งผู้กำ�หนดการตีความในรัฐบาล กลางก็ถือได้ว่าเป็นชนชั้นนำ�ในการกำ�หนดนโยบายระหว่างประเทศซึ่งปรากฏอยู่ในการบรรยายถึงความสัมพันธ์ ไทยลาว ในการประชุมเจนีวาในปี ค . ศ . 1954 ได้มีการถกเถียงหาบทสรุปในการจัดการประเด็นในอินโดจีนของ ฝรั่งเศส ซึ่งบทสรุปของการยุติสงครามอินโดจีน ระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ ได้ลงนามภายใต้ชื่อ สนธิสัญญา สันติภาพเจนีวา (Geneva Accords) และนำ�มาซึ่งรัฐอิสระ 4 รัฐ คือเวียดนามเหนือ เวียดนามใต้ กัมพูชา และ ราชอาณาจักรลาว อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นรัฐสมัยใหม่ของชนชาติลาวไม่ใช่ส่วนหนึ่งของอินโดจีนภายใต้ อำ�นาจอธิปไตยของฝรั่งเศส [Evans 2002; Lockard 2009] สนธิสัญญาสันติภาพเจนีวา ค . ศ . 1954 จึงเป็นกลไกการตีความด้านเวลาในรูปแบบไคโรสที่เป็นจุดเปลี่ยน ผ่านของประวัติศาสตร์ความเป็นรัฐใต้การปกครองของฝรั่งเศสของลาว เมื่อได้รับเอกราชลาวจึงมีโครโนสแบบ ใหม่ในฐานะรัฐอิสระภายใต้ชื่อราชอาณาจักรลาว อย่างไรก็ตามเอกราชที่ว่ากลับมิได้นำ�มาซึ่งสันติภาพในภูมิภาค หากแต่เป็นความรุ่นแรงที่สืบเนื่องมาจากอาณานิคมภายใต้ชื่อสงครามเย็น ซึ่งเป็นสงครามอุดมการณ์ระหว่าง สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำ�ของทั้งสหภาพโซเวียตและจีนแผ่นดินใหญ่ในขณะนั้นซึ่งได้เข้ามามีอิทธิพล ในเวียดนามเหนือและลาวบางส่วน ในขณะที่สหรัฐอเมริกาได้พยายามเข้ามาสนับสนุนอุดมการณ์แบบเสรีนิยม ประชาธิปไตยในภูมิภาค [Stevenson 1972] แม้ว่ารัฐบาลที่ตนสนับสนุนจะไม่ได้เป็นประชาธิปไตยตราบใดที่ ยังมีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมสหรัฐอเมริกาก็จะยังให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ อาทิ เวียดนามใต้ และไทย กล่าว คือสหรัฐอเมริกาเองก็พยายามจะเข้ามามีบทบาทในด้านเศรษฐกิจและการเมืองในเวียดนามใต้และเวียดนามเหนือ เพื่อแทนที่ฝรั่งเศสหลังจากภายแพ้ในสงครามเดียนเบียนฟูใน ค . ศ .​ 1953 โดยหันไปสนับสนุนรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะ รัชต์ในอีกไม่กี่ปีหลังจากนั้น [ กุลลดา 2550] และสนับสนุนงบประมาณให้กับรัฐบาลลาว [Stevenson 1972] นอกจากนี้สหรัฐอเมริกาได้ร่วมผลักดันให้เกิดความร่วมมือในลักษณะความมั่นคงร่วม (collective securi- ty) ในชื่อ องค์การของสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( สปอ . ) หรือ ซีโต้ (South- East Asia Collection Defence Treaty: SEATO) ที่ เอ็ดเวิร์ด ซาอิด [Said 1977] นักคิดจากสำ�นัก หลังอาณานิคมระบุว่า เป็นกลไกในการดึงให้ประเทศที่เพิ่งได้รับเอกราชเข้าร่วมอุดมการณ์กับสหรัฐอเมริกา หรือ อาจจะเป็นการยินยอมให้สหรัฐอเมริกาสามารถส่งกำ�ลังทหารเข้าไปประจำ�การในประเทศนั้นเพื่อต่อต้านลัทธิ คอมมิวนิสต์ ท้ายสุดแล้วสหรัฐเมริกาส่งทหารมาประจำ�การในอินโดจีนราว ๆ 500,000 คน ผู้เขียนจึงแสดงทัศนะ ว่าการแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาจะสำ�เร็จได้ก็ต่อเมื่อชนชั้นนำ�ในประเทศในภูมิภาคอินโดจีนและใกล้เคียงคือไทย ให้การยินยอม การกำ�หนดนโยบาย และการตีความด้านพื้นที่และเวลาเช่นนี้จึงจัดอยู่ใน การผูกขาดการตีความโดย ชนชั้นนำ� หลักบูรณภาพแห่งดินแดน (territorial integrity) ตามวิธีคิดเรื่องชายแดนแบบเวสต์ฟาเลียถูกปรับเปลี่ยน ไปตามที่ชนชั้นนำ�ของแต่ละรัฐในขณะนั้นต้องการ โดยจะใช้ข้ออ้างว่าเป็นไปเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติในการ ป้องกันภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งการตีความด้านการกำ�หนดเวลาเช่นนี้มีลักษณะที่ผูกติดกับวิจารณญาณ ของชนชั้นนำ� ( ไคโรส ) ของทั้งไทย ลาว และเวียดนามใต้ เช่น กองกำ�ลังของกองทัพสหรัฐอเมริกันได้รับอนุญาต ให้เข้ามาตั้งฐานทัพในไทย เวียดนามใต้ ก่อน ค . ศ . 1975 หลังจาก ค . ศ . 1975 กองกำ�ลังเวียดนามก็ได้เข้าไปตั้ง ฐานทัพในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว [Oldfield 1998] ก่อนหน้านั้นหลักการเรื่องบูรณภาพแห่ง ดินแดนไม่ได้ถูกนำ�ไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัดนัก แม้ว่าเส้นเขตแดนไทยกับลาวมีปรากฏอยู่ แต่สหรัฐอเมริกาและ ไทยเองก็ยังส่งกองกำ�ลังเข้าไปปฏิบัติการทางทหารในลาวอย่างลับ ๆ [Lee 2012] จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาถอน ทหารใน ค . ศ . 1973 และ ค . ศ . 1975 รัฐบาลลาวได้เข้มงวดกับหลักการบูรณภาพแห่งดินแดนในบริเวณชายแดน

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=