Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

120 บทความของ ธนเชษฐ วิสัยจร [Wisaijorn 2017] ได้ระบุเพิ่มเติมว่า กับดักเส้นเขตแดนนี้ปรากฏอยู่ใน นักคิดวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลัก ตั้งแต่สำ�นักสัจนิยมคลาสสิคไปจนกระทั่งสัจนิยมใหม่ ยก ตัวอย่างเช่น ฮันส์ มอร์เกนเธา [Morgenthau 1947, 1948, 1965] เฮิร์ซ [Herz 1959, 1968, 1975] และ นักคิดที่เป็นทั้งนักวิชาการและนักการทูตอย่าง จอร์จ เคนนัน [Kennan 1947] ที่เคยดำ�รงตำ�แหน่งเอกอัครราชทูต สหรัฐอเมริกาประจำ�กรุงมอสโก ในอดีตสหภาพโซเวียตมาแล้ว ก็ถือได้ว่ามีทัศนะที่ยึดติดกับดักเส้นเขตแดน ในทำ�นองคล้าย ๆ กันในหมู่นักคิดสัจนิยมใหม่อย่าง เคนเน็ธ วอลซ์ [Waltz 1979] และ จอห์น เมียร์ไชเมอร์ [Mearsheimer 2001] กล่าวคือ รัฐมักจะถูกมองว่าเปรียบเสมือนลูกบิลเลียด หรือหน่วยทางการเมือง ซึ่งมี ปฏิสัมพันธ์ต่อกันในระบบระหว่างประเทศ แม้ว่า ธนเชษฐ วิสัยจร [Wisaijorn 2017] จะมุ่งวิเคราะห์กับดักเส้นเขตแดนที่ปรากฏอยู่ในทฤษฎี แต่บ่อย ครั้งการอ่านเวลาแบบยึดรัฐเป็นศูนย์กลางก็ปรากฏอยู่ ยกตัวอย่าง ผู้เขียนได้วิจารณ์กับดักเส้นเขตแดนในการตีความ นโยบายต่างประเทศของเคนนัน [Kennan 1947] ที่เขามีบทบาทในการหว่านล้อมให้สหรัฐอเมริกาดำ�เนินนโยบาย แบบป้องปราม (containment) กับสหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็น ด้วยเชื่อว่าสหภาพโซเวียตยึดถืออุดมการณ์ แบบสังคมนิยม จะไม่โจมตีรัฐที่เป็นทุนนิยมในเวลานั้น สาเหตุคือวิธีคิดแบบสังคมนิยม จะเฝ้ารอให้การกดขี่ขูดรีดของ ชนชั้นนายทุนจะสั่งสมจนความเจ็บแค้นของชนชั้นกรรมาชีพค่อย ๆ สุกงอม และระเบิดพรั่งพรูความโกรธแค้นจนเกิด การปฏิวัติประชาชน วิธีคิดเช่นนี้ชี้ให้เห็นถึงกับดักห้วงเวลาในแง่ที่ว่าการตีความเวลาถูกผูกขาดโดยชนชั้นนำ� และยึด รัฐเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ เคนนัน [Kennan 1947] ในขณะนั้นก็เป็นนักการทูตที่ป้อนนโยบายเข้าสู่เมืองหลวงของ สหรัฐอเมริกาในนครวอชิงตันดีซี อีกทั้งการอ่านประวัติศาสตร์แบบคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ที่ลำ�ดับวิวัฒนาการ ของสังคมมนุษย์ ตั้งแต่การปฏิสัมพันธ์ในครัวเรือน ต่อมาพัฒนาเป็นหมู่บ้าน ชนเผ่า จากหมู่บ้านชนเผ่ากลายเป็นเมือง จากเมืองก็เติบโตเป็นอาณาจักร จากอาณาจักรขยายใหญ่เป็นจักรวรรดิแล้วจึงมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม [Marx, En- gels 1974] ซึ่งเป็นการเขียนประวัติศาสตร์แบบเป็นเส้นตรงก็ปรากฏอยู่ แม้แต่ในการอ่านพื้นที่ของทั้งวอลซ์ [Waltz 1979] และเมียร์ไชเมอร์ [Mearsheimer 2001] ที่ยึดรัฐ เป็นศูนย์กลางและรัฐเป็นเหมือนลูกบิลเลียดที่ขับเคลื่อนในระบบระหว่างประเทศ การอ่านประวัติศาสตร์แบบเป็น เส้นตรงก็ยังมีให้เห็นเช่นกัน กล่าวคือ หากรัฐเป็นเหมือนลูกบิลเลียดจนกระเด้งกระดอน และกระทบกันในระบบ ระหว่างประเทศได้ รัฐจะต้องมีชายแดนแบบเวสต์ฟาเลียเสียก่อน จึงหมายความว่าในความคิดของวอลซ์ รัฐเวสต์ฟา เลียเป็นรัฐที่พัฒนารูปแบบได้เหมาะสมที่สุดที่จะใช้ในการอธิบายการเมืองระหว่างประเทศ ชุมชนทางการเมือง ของมนุษย์จะพัฒนาเป็นรัฐแบบเวสต์ฟาเลียได้สำ�เร็จ จะต้องผ่านประวัติศาสตร์ที่สืบเท้าเป็นเส้นตรงนับจากระดับ ครัวเรือนในสังคมมนุษย์ที่ค่อย ๆ พัฒนาเป็นชนเผ่า จากชนเผ่าเป็นเมือง จากเมืองเป็นอาณาจักร และอาณาจักร เป็นจักรวรรดิ หากอ้างตามประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรป รัฐแบบศักดินาสวามิภักดิ์ (feudalism) ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ ในรูปแบบรัฐแบบจักรวรรดิได้ค่อย ๆ เสื่อมและสิ้นสุดลง ใน ค . ศ . 1648 แล้วจึงเกิดรัฐแบบเวสต์ฟาเลียขึ้น การ อ่านประวัติศาสตร์ที่เป็นเส้นตรงเช่นนี้ เป็นการอ่านห้วงเวลาที่ยึดศูนย์กลางของรัฐเป็นหลักซึ่ง ดิเปซ จักรบาร์ตี [Charkrabarty 2008] เองก็ตั้งคำ�ถามกับการอ่านเวลาเช่นนี้ และผู้เขียนขอเสนอว่าบ่อยครั้งมองข้ามการอ่าน เวลา กล่าวคือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครโนสกับไคโรสผ่านตัวแสดงที่หลากหลายซึ่งอาจปรากฎอยู่ในบริเวณเมือง ที่ตั้งอยู่บนขอบของเส้นพรมแดนไป นักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสำ�นักวิพากษ์ (critical International Relations) อย่าง คิม เบอร์ลี ฮัตชิงส์ [Hutchings 2008] ได้แสดงจุดยืนว่าการอ่านเวลาในการเมืองระหว่างประเทศไม่ควรจะถูกจำ�กัด ไว้โดยยึดรัฐเป็นศูนย์กลางเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องวิเคราะห์ และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงทั้งที่เป็นรัฐและไม่ใช่รัฐ ฮัตชิงส์ [Hutchings 2007] ชี้ให้เห็นว่าการ อ่านเวลาของโลกที่หลากหลาย (heteroteneity of world political times) จะช่วยส่งเสริมให้การวิเคราะห์ การเมืองในวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีมิติที่หลากหลายมากขึ้นและทำ�ให้การอภิปรายถกเถียงในสาขาวิชา เติบโตมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=