Материалы чтений памяти Б. Н. Мельниченко и С. Е. Трифонова

119 ประการที่สอง ผู้เขียนต้องการทบทวนวรรณกรรมในประเด็นชายแดนไทย - ลาว และชี้ให้เห็นว่าลักษณะการ อ่านพื้นที่และเวลามักถูกผูกขาดการตีความมิติเวลาโดยชนชั้นนำ� การอ่านและการเขียนเวลาโดยยึดรัฐเป็นศูนย์กลาง (state-centric temporality) และการเขียนประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเดินเป็นเส้นตรงโดยชนชั้นนำ�ท้องถิ่นและ นำ�ไปปฏิบัติผสมผสานกับวิถีปฏิบัติดั้งเดิมจนอาจกล่าวได้ว่ามีลักษณะเป็นการอ่านพื้นที่แบบพื้นที่ที่สาม ตั้งแต่ลาว ได้รับเอกราชใน ค . ศ . 1954 จนปัจจุบัน ประการที่สาม ผู้เขียนต้องการจะเพิ่มความสำ�คัญของมิติด้านเวลาในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเมือง ที่ตั้งอยู่เหนือเส้นแบ่งอธิปไตยของรัฐสองรัฐ ในทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเรียกเส้นแบ่งนี้แตกต่างกันไป ตามบริบท เช่น เขตแดน (territory) หรือการลากเส้นเขตแดน (boundary) การเข้าไปอ่านเวลาโดยมุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครโนส (chronos) และไคโรส (Kairos) ตามทัศนะของคิมเบอร์ลี ฮัตชิงส์ [Hutch- ings 2008] จะถูกนำ�ไปวิเคราะห์และขยายความ กล่าวคือ “ โครโนส ” หมายถึง การดำ�เนินของเวลาในห้วง ประวัติศาสตร์ที่มีกิจกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำ�และดำ�เนินต่อไปโดยไม่สะดุด ส่วน “ ไคโรส ” หมายถึง สภาวะที่ตัวแสดง ทางการเมืองต้องตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนวิถีการปฏิบัติไปในรูปแบบหนึ่งหรือไม่ เช่น การเปลี่ยนผ่านจากรัฐโบราณ ของสยามมาเป็นรัฐสมัยใหม่ ในตอนที่มีการบังคับใช้วิธีคิดแบบเขตแดนแบบเวสต์ฟาเลียเป็นครั้งแรกก็จัดได้ว่าเป็น ไคโรส ผู้เขียนเห็นด้วยกับ ฮัตชิงส์ [Hutchings 2008] ที่เสนอว่าการตีความเวลาที่หลากหลายเป็นหนึ่งวิธีการที่จะ เพิ่มมิติให้กับทฤษฎีที่นำ�ไปใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสองรัฐ แม้ฮัตชิงส์ [Hutchings 2008] จะอ้างว่านัก คิดวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศละเลยมิติด้านเวลาไปโดยเฉพาะสำ�นักสัจนิยม แต่ผู้เขียนยังยืนยันว่าหากกล่าว เช่นนั้นก็คงไม่เป็นธรรมกับสำ�นักสัจนิยมหรืองานวิชาการที่ผลิตมาเขียนมาเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ไทย - ลาวตาม กระบวนทัศน์กระแสหลักเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานเขียนเชิงวิชาการที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างไทยและ ลาวนับตั้งแต่ ค . ศ . 1954 จนถึงปัจจุบันคือ ค . ศ . ​2018 เราจะพบว่าการอ่านเวลานั้นปรากฏอยู่ในงานเขียนแทบทุก ชิ้น เพียงแต่เป็นการอ่านเวลาแบบที่ยึดรัฐเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมองความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสองรัฐคือรัฐไทยและรัฐลาว ว่าไม่แตกต่างไปจากความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางของรัฐสองรัฐ คือกรุงเทพฯ และเวียงจันทน์ การปฏิสัมพันธ์ระ หว่างโครโนสกับไครอสก็ยังปรากฎอยู่เมื่อมีการบอกเล่าการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ เช่น เมื่อรัฐสยาม ( รัฐ ไทยในอดีต ) มีการปฏิรูประบบราชการและนำ�วิธีคิดแบบรัฐเวสต์ฟาเลียมาใช้ [Bunnag 1968; Breazeale, 1975] นั่นก็จัดได้ว่าเป็นไครอสคือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดการปกครองของสยามซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับ รัฐ แต่งานเขียนชิ้นนี้ต้องการเสนอว่าการอ่านเวลาเช่นนี้ยังขาดการตีความที่รอบด้าน เนื่องจากเป็นการผูกขาดการ ตีความเวลาโดยชนชั้นนำ� (temporal dimension monopolised by the elites) การอ่านและการเขียนเวลาโดย ยึดรัฐเป็นศูนย์กลาง การเขียนประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเดินเป็นเส้นตรง การอ่านมิติของเวลาเช่นนี้ ผู้เขียนจะเรียกว่า “ กับดักห้วงเวลา ” (Temporal Trap) กับดักห้วงเวลาในทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Temporal trap in International Relations) ใน ค . ศ . 1994 จอห์น แอ็กนิว (John Agnew) ได้เขียนบทความเรื่อง The Territorial Trap: The Geographical Assumptions of International Relations Theory ซึ่งระบุว่าในทฤษฎีความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ จะปรากฏกับดักเส้นเขตแดนอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1.  แนวคิดว่าพื้นที่รัฐแยกออกเป็นสองส่วนคือ พื้นที่ภายในและภายนอก 2. แนวคิดที่ว่ารัฐเป็นเหมือนภาชนะ และ 3.  การผูกขาดการตีความเขตแดนโดยชนชั้น นำ�ทางการเมือง

RkJQdWJsaXNoZXIy MzQwMDk=